เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานเปิดโครงการ "ค่ายต้นกล้าตุลาการ" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566 (รุ่นที่ 11) ที่ศาลฎีกาสนามหลวง มีเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 126 คน โดยใช้เวลาทำกิจกรรมในค่าย6 วัน โรงแรมบัดดี้ โอเรียนทอล ริเวอร์ไซด์ ในการเรียนรู้หาคำตอบของชีวิตถึงเส้นทางในอนาคตจะมุ่งไปทางใด เหมาะกับการเป็นนักกฏหมายหรือไม่ โดยมีวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญสานอาชีพในสายกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา ตั้งเเต่ผู้ช่วยผู้พิพากษา จนถึงระดับผู้ใหญ่
เผยโฉม! ฉลองพระองค์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566 วันหยุดราชการ-ธนาคาร วันไหนบ้าง
เช็กวันมงคลเดือน ธันวาคม 2566 วันดี-วันกาลกิณี พร้อมฤกษ์ดีตลอดปี
เช่น นางเมทินี ชโลธร อดีตประธานศาลฎีกา นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกาอัยการ นักการสื่อสาร เเละผู้เชี่ยวชาญด้านบริหาร มาร่วมบรรยายให้ความรู้ ระหว่างวันที่ 23 – 28 เม.ย. 2566 เเละมีนายอำพันธ์ สมบัติสถาพรกุล ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมาคำพูดจาก สล็อตวอเลท
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล หรือ "พี่กุ้ง"ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลเยาวชนเเละครอบครัวจังหวัดจันทบุรี ฐานะประธานค่ายเผยภายหลังปิดการอบรมรุ่นที่ 11 ว่า หลังจากที่ผ่านการอบรมมาหลายวัน น้องๆ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ค่ายก็ยังเดินหน้าต่อไปด้วยตามกำหนดการและรูปแบบที่เราวางเอาไว้ ทั้งในส่วนของวิชาการและกิจกรรม ปีนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ๆ บางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถและกระบวนการรับรู้ของน้องๆ โดยในช่วงวันที่ผ่านมา ยังคงเป็นไปได้อย่างดีและน้องๆ สนใจเรียนรู้อย่างดีมาก
ในส่วนพัฒนาการของค่ายจากรุ่นที่ 1-11 ทางค่ายก็จะมีการพัฒนาตามน้องๆ ที่เข้าร่วมค่าย เพราะในแต่ละปี เยาวชนจะมีการเปลี่ยนแปลงไป น้องเยาวชนเมื่อ 10 ปีที่แล้กับปัจจุบันจะมีพัฒนาการหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร ทางค่ายเองจึงมีการพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับเยาวชนในแต่ละยุคสมัยในทุกๆ ปี เเต่อย่างไรดีตามรูปแบบของค่ายในส่วนของโครงสร้างจะคล้ายกับของเดิมในเรื่องของการใส่ใจ การให้ความสำคัญในทุกๆรายละเอียดเเละการให้ความจริงใจกับน้องๆสิ่งเหล่านี้จะเหมือนเดิมทุกรุ่น
แต่ในเเง่ของนื้อหาวิชาการ และรูปแบบการบรรยายหรือการนำเสนอจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดตั้งเเต่รุ่นที่ 1 ถึงปัจจุบัน เราอาจจะลดในเรื่องของชั่วโมงการบรรยายที่เป็นการนั่งฟัง คงไว้เล็กน้อย จะเพิ่มการให้น้องๆ มีส่วนร่วม เเละใช้รูปแบบการบรรยายที่มีการผสมผสานหลายรูปแบบมากขึ้น อย่างเช่นการนำรูปแบบโปรแกรมต่างๆ มาใช้ในการอบรม หรือนำการถามตอบข้อกฎหมายมาเป็นตัวนำในการอธิบายข้อกฎหมาย และมีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเพื่อระดมความคิดและนำเสนอความคิดเห็นมากขึ้น รูปแบบเหล่านี้เราปรับเปลี่ยน เพราะเรารู้สึกว่าเยาวชนในปัจจุบันกล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะคิด ในเมื่อเขากล้าแล้ว เราก็เปิดเวทีให้
ขณะเดียวกัน พี่ๆ ก็เปิดใจรับฟังความคิดเห็นเหล่านั้นจากน้องๆ และอาจเสริมความคิดเพิ่มเติมไปบ้างเพื่อแลกเปลี่ยนกัน กลายเป็นพี่กับน้องต่างเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งน้องและพี่จึงมีโอกาสเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน
ช่วงอมรบที่ผ่านมา ได้ผลตอบรับจากน้องๆ ผ่านตัววิทยากรที่มาบรรยาย ว่าเด็กบางคนมีคำตอบแล้วว่าจะเดินทางไหน หรือเส้นทางชีวิตจะเป็นไปในทิศทางใด เขาจะเริ่มเห็นว่าการเรียนกฎหมายมันใช่เส้นทางของเขาจริงหรือไม่ ตรงนี้มันอาจจะเป็นการตอกย้ำความคิดหรือเปลี่ยนความคิดก็ได้ เท่าที่เห็นวันนี้เขาเริ่มมีทิศทางแล้ว
ในเรื่องความต่อเนื่องที่ค่ายมีการชะลอไปช่วงโควิด 19 ในมุมมองตนมองว่าไม่มีปัญหา รุ่นพี่ตั้งเเต่รุ่น 10 ไปตอนนี้ก็อยู่ในระดับมหาวิทยาลัยพอดี เราก็เชิญเข้ามามีส่วนร่วมมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับรุ่นน้องมาเป็นบุคลากรคอยแนะนำในการเรียน ปีนี้เราได้พี่เลี้ยงรุ่นพี่ซึ่งมาจากหลายรุ่น ส่วนใหญ่เป็นรุ่น 8-10 ซึ่งบางคนเพิ่งจบพอดี หรือเรียนอยู่ระดับมหาวิทยาลัยจากหลายสถาบัน เช่น จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์,เกษตรศาสตร์,แม่ฟ้าหลวง, ขอนแก่น หรือแม่แต่รามคำแหง ฯ พี่เลี้ยงเหล่านี้เป็นตัวเชื่อมที่ทำให้รุ่นมันไม่ขาดตอน ในช่วงเวลาที่ชะลอค่ายก็มีการติดต่อกันทางออนไลน์มากขึ้น อย่างเช่นน้องโพสต์ภาพของทีมสีในค่าย รุ่นพี่ก็จะเข้ามากดไลก์กดแชร์ มีส่วนร่วมกันมากขึ้น เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์จากรุ่นสู่รุ่น และเขาก็จะมีความผูกพันกันระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องต้นกล้าตุลาการ อย่างรุ่น 11 ปีนี้ ก็จะเจอรุ่นพี่ตั้งแต่รุ่น 1- 10 ที่เข้ามาหาและรุ่นพี่เหล่านี้ ปัจจุบันเขาเติบโตไปสายงานวิชาชีพอื่นๆ บางคนอาจจะไม่ได้มาร่วมค่ายก็ส่งมาเป็นคลิปทักทายน้องๆ เราใช้โซเชียลมากขึ้นให้ระยะห่างมันแคบลง
ในด้านความคาดหวังว่ารุ่น 11 จะเข้าเส้นทางสายกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องบอกว่า ความจริงเราภูมิใจในน้องๆ ทุกคนที่ผ่านค่าย ไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพอะไรเรียนสาขาไหน พวกเขาก็เป็นต้นกล้าตุลาการที่ค่ายภูมิใจ เป็นต้นไม้ที่เติบโตเป็นผลผลิตที่ดีให้แก่สังคมต่อไป ก็จะเป็นต้นไม้ใหญ่ ที่ให้ร่มเงากับสังคมต่อไปได้ไม่ว่าจะไปอยู่ในสังคมไหนก็ตามแต่
ในส่วนผลผลิตที่เกิดขึ้นได้เข้ามาเป็น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม เราก็มีความภาคภูมิใจ ว่าน้องๆ ก็เข้าสู่กระบวนการเป็นนักกฎหมายที่ดี ไม่ว่าจะไปอยู่ในวิชาชีพกฎหมายสาขาไหน เขาก็จะเป็นนักกฎหมายที่ดีขององค์กรนั้นๆ
รุ่นที่ 11 เราก็มีเจตนารมณ์เหมือนเดิม คือให้น้องได้ค้นพบตัวเอง และเรายังยืนยันว่าไม่มีอาชีพใดดีที่สุดในโลกใบนี้ เขาต้องค้นหาด้วยตัวเอง หาอาชีพที่เขาชอบและอาชีพที่เขารัก อาชีพที่ใช่และเมื่อเจอแล้ว ถึงจะเป็นอาชีพที่ดีที่สุดในโลกของเขาเอง เรายังยืนยันเจตนารมณ์นี้เหมือนเดิม และเราก็ยืนยันว่าเราภาคภูมิใจกับอาชีพน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นประกอบอาชีพที่สุจริตอะไร อันนี้ค่ายภาคภูมิใจอยู่แล้ว ส่วนน้องๆ ที่เข้ามาสู่ครอบครัวของศาลยุติธรรมหรือในองค์กรของศาลยุติธรรมอันนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใหญ่ในองค์กรชื่นใจเหมือนกันว่าเป็นผลผลิตที่มาจากค่ายที่ก็อดไม่ได้ที่ผู้ใหญ่ในองค์กรจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ภูมิใจในน้องๆ ที่ไปเติบโตในสายอาชีพอื่นๆ
ส่วนความต่อเนื่องของโครงการนั้นเท่าที่ได้สัมผัสและทราบจากผู้ใหญ่ในองค์กร โดยเฉพาะบอร์ดบริหาร คือกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ยังให้การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ และยังคงเห็นว่าค่ายนี้เป็นโครงการที่ดีของศาลยุติธรรม ที่จะทำให้ศาลยุติธรรมเข้าไปใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากขึ้น เราสามารถให้น้องๆ เข้ามาสัมผัส มารับรู้การทำงานภายในของเราบางส่วน ที่นอกเหนือจากนี้เขายังได้ค้นพบตัวเอง เขาก็จะได้ความรู้ประสบการณ์จากพี่ๆ ที่ทำงานเเละ เข้ามาเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ที่ศาลยุติธรรม ถือเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญอยู่เหมือนเดิม หากไม่มีสถานการณ์อะไรที่แทรกแซงเหมือนโควิด 19 ก็จะมีการจัดเเบบนี้ทุกปีในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน
ประธานค่าย ยังฝากถึงรุ่น 11 ทิ้งท้ายว่า "พี่ไม่ได้คาดหวังว่าน้องๆ จะต้องเติบโตและประกอบอาชีพอะไร แต่คาดหวังว่าน้องๆ จะต้องเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากค่ายต้นกล้าตุลาการรุ่นที่ 11 ให้มากที่สุด และเป็นประโยชน์กับตัวเอง หวังว่าค่ายจะจุดประกายความฝันให้กับน้องๆ หรือเป็นค่ายที่ทำให้น้องๆ ค้นพบตัวเองได้ เป็นค่ายที่ทำให้น้องๆ ได้รู้จักเพื่อนๆที่ดี มีเครือข่ายที่ดีในการช่วยเหลือกันเมื่อเติบโตไปแล้วขอให้น้องๆ ได้มีโอกาสช่วยเหลือสังคมต่อไป นำความคิด นำอุดมการณ์ นำเจตนารมณ์ที่ดีของต้นกล้าตุลาการไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ของตนเอง เพื่อที่จะได้ขยายวิธีคิดในรูปแบบของเราให้สังคมได้มีส่วนในการช่วยเหลือกันและกัน อย่างน้อยที่สุดเมื่อน้อง ๆเติบโตขึ้นไปก็จะไปเป็นต้นกล้าที่ดีของประเทศชาติ ไปเป็นต้นไม้ที่เติบโตอย่างสวยงามและงดงามของแผ่นดินไทยต่อไป"
นายนราพงค์ พวงไทย หรือเเก๊ป ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 76 สนามใหญ่ เเละเคยอบรมต้นกล้าตุลาการรุ่นที่ 3 เปิดเผยความรู้สึกหลังเข้ามาบรรยาย ว่า ตอนมัธยมปลายตนตั้งใจเรียนสายกฎหมายอยู่แล้ว เพราะว่าอยากจะรู้สิทธิและหน้าที่ของการเป็นเด็กและเยาวชนก็เลยมาอบรมค่ายนี้ สิ่งที่เราได้รับก็คือได้มาเจอกับพี่ๆ ผู้พิพากษาหลายคนก็มาแนะนำเรา ชี้แนะเส้นทางด้านกฎหมายทำให้เราเกิดความชอบในการประกอบอาชีพผู้พิพากษา เพราะเรารู้สึกว่าอาชีพผู้พิพากษาสามารถช่วยเหลือและให้ความเป็นธรรมกับผู้คนได้ และเราสามารถสอบเข้ามาทำงานในตำแหน่งได้ด้วยความสามารถของตนเอง ตั้งแต่นั้นที่อบรมต้นกล้าตุลาการรุ่นที่ 3 ก็ตั้งใจที่จะเป็นผู้พิพากษาเลยนับตั้งแต่ตอนนั้น
โดยในมุมมองในฐานะรุ่น 3 จนมารุ่นปัจจุบัน รู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ให้โอกาสเด็กๆ เป็นโครงการที่เอาเด็กทุกคนทั่วประเทศไม่จำกัดฐานะ ไม่จำกัดว่าคุณจะเป็นใครที่ไหน เราให้โอกาสเด็กที่มีความสามารถเรียนรู้ สิทธิหน้าที่ของเด็กในกระบวนการยุติธรรม เรียนรู้ว่าเส้นทางนี้มีอะไรบ้าง ค่ายนี้ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ดีที่สุดหรืออาชีพที่ดีที่สุดคือผู้พิพากษา แต่ค่ายนี้จะบอกให้เห็นว่าเส้นทางแต่ละทางเป็นอย่างไรมีข้อดีข้อเสียอย่างไร พูดคุยพบปะและเจอกับผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนั้นโดยตรง
โอกาสที่ผมมองว่าเราจะได้มีโอกาสเจอผู้พิพากษาในชีวิตประจำวันน้อยมากแต่ค่ายนี้ให้โอกาสไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา หรืออาชีพอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรมนี่คือสิ่งที่ค่ายนี้ให้ ให้โอกาสเด็กและเยาวชนเข้ามาเรียนรู้สิ่งที่หาไม่ได้จากภายนอก วันนี้ได้ถ่ายทอดปัญหาข้อกฎหมายที่เด็กเยาวชนปัจจุบันควรรู้ว่าข้อกฎหมายในปัจจุบันที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเขามีอะไรบ้างและ อะไรที่เขาควรกลับมาระวังในการใช้ชีวิตและเราจะสอดแทรกการประกอบอาชีพด้านกฎหมายในปัจจุบันในเส้นทางกฏหมาย ว่ามีอะไรบ้างและเขาควรจะเลือกเส้นทางไหน เราคุยกับเขาเปิดโอกาสให้เขาและเปลี่ยนความคิดเห็นว่าเส้นทางไหนดีอย่างไรเราจะไม่บอกว่าทางไหนดีที่สุดแต่เราจะแนะนำว่าเราต้องมีเป้าหมายในชีวิตว่าจะไปทางไหนนี่คือสิ่งที่อยากจะให้น้องๆมองไม่มีอาชีพไหนดีที่สุดครับ ทุกอาชีพมีข้อดีและข้อเสียของตัวเองและไม่มีอาชีพที่ดีที่สุด มีแต่อาชีพที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองเท่านั้นขอแค่เรามีเป้าหมายและเลือกไป
นายวงศพัทธ์ เเสงปุตตะ หรือซัน ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 76 สนามใหญ่ เเละเคยอบรมต้นกล้าตุลาการรุ่นที่ 2 เล่าว่า สมัยมาค่ายนี้อยู่ชั้น ม.5 ตอนสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาได้อายุ 26 ปี ก่อนหน้าที่จะมาค่ายนี้ตนมีความตั้งใจที่จะเรียนนิติศาสตร์ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ด้วยความที่จะมีคุณพ่อเป็นอัยการ มีความสนใจทางด้านกฎหมาย เลยเลือกที่จะมาค่ายนี้ การมาค่ายนี้ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำตัวเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าการเรียนกฎหมายน่าจะเหมาะกับเราที่สุดแล้ว และเราก็ชอบในด้านนี้ด้วย ทำให้เราได้เห็นถึงหลักและอาชีพของสาขานักกฏหมายไม่ว่าจะเป็นอัยการ ผู้พิพากษาหรือทนายความหรือ ที่ปรึกษากฎหมาย ค่ายเเห่งนี้ทำให้ได้พบเจอกับเพื่อนในต่างจังหวัดและหลายๆ พื้นที่ ทุกวันนี้ยังคุยกับเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มด้วยกันอยู่ แต่ละคนก็แยกย้ายกันไปทำงานทั้งสายกฎหมายและไม่ได้อยู่ในสายกฎหมาย
วันที่มาบรรยายเรื่องปัญหาที่น่าสนใจด้านกฎหมาย มีการยกปัญหามาถามน้องๆ ก่อให้เกิดความสนใจตื่นตัวในการเรียนรู้ และอยากค้นหาตัวเองให้เจอ ศึกษาดูว่าตนเองสนใจกฎหมายหรือเปล่า หรือว่าไม่ชอบจะได้เปลี่ยนได้ก่อนที่จะไปเรียนทางด้านอะไรต่ออยากให้เราค้นพบตัวเองว่าใจตัวเองรู้ทันก่อน
หลักๆ ของค่ายก็ยังคงเดิมด้วยความที่มีพี่กุ้งเ ป็นผู้บริหารมาตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันและส่วนรายละเอียดปีกย่อยก็มีความต่างไปจากที่ผมเคยมาโดยรวมว่าดีขึ้นจากเมื่อก่อนเยอะมาก เนื้อหาทางกฎหมายมีการอัพเดทข้อมูลกฎหมายกับน้องๆ อยู่ตลอด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ "ค่ายต้นกล้าตุลาการ" จะต้องเป็นเยาวชนที่มีอายุระว่าง 15-18 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากทั่วประเทศ