กรมทางหลวง (ทล.) ได้ดำเนินการผลักดันเพิ่มโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเปิดให้บริการแล้ว 2 เส้นทาง ระยะทาง 268.49 กิโลเมตร (กม.) ได้แก่ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (M7) ช่วงกรุงเทพ-มาบตาพุด 189.67 กม. และ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (M9) ช่วงบางปะอิน-บางพลี 64.32 กม. และ ช่วงทางต่างระดับบางครุ-ต่างระดับบางขุนเทียน 14.5 กม.

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 เส้นทาง ระยะทาง 316.6 กม. ได้แก่ 1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (M6) ช่วงบางปะอิน-นครราชสีมา 196 กม. คาดว่าจะเปิดทดลองให้บริการปี 2568 2.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 (M81) ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กม. คาดว่าจะเปิดทดลองให้บริการปี 2567 และ 3.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 (M82) ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว 24.6 กมคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. คาดว่าจะเปิดทดลองให้บริการปี 2568

ภายใต้การทำงานของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา กรมทางหลวงได้เร่งรัดโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองใหม่ 2 เส้นทาง ระยะทาง60กม. วงเงินก่อสร้าง 87,393ล้านบาทซึ่งเป็นโครงการการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(Public Private Partnership : PPP)ขนาดใหญ่ โดยขณะนี้คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนPPPได้เห็นชอบหลักการของโครงการแล้ว กระทรวงคมนาคมรอรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดการก่อสร้างต่อไป

สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองใหม่ 2 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 (M5) สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. วงเงิน 31,358 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติการดำเนินโครงการในปี 2566 จากนั้นจะคัดเลือกเอกชนผู้ร่วมลงทุน PPP ในปี 2566-2567 และดำเนินการก่อสร้าง พร้อมทดสอบระบบในปี 2567-2570 และเปิดให้บริการในปี 2571

จุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อกับทางยกระดับอุตราภิมุขที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน บริเวณทางแยกต่างระดับรังสิต (ประมาณ กม.33+924 ของทางหลวงหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธิน) และจุดสิ้นสุดบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน (ประมาณ กม.1+800 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับโครงการM6 ได้ ครอบคลุมพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และ อ.บางปะอิน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีจุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 7 แห่ง รูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับตามแนวถนนพหลโยธิน ขนาด 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) โดยมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane FreeFlow)หรือM-Flow

2.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9(M9)สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอนทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 38 กม. วงเงิน56,035 ล้านบาท คาดว่าเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566 จากนั้นจะคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนPPPควบคู่กับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และ ขออนุมัติผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ฉบับแก้ไข ในปี 2566-2567 ก่อนเริ่มก่อสร้างในปี 2568 ทดสอบระบบและเปิดให้บริการในปี 2571

จุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ด้านทิศใต้,ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82(M82)สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว และทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือ ยกระดับตามถนนกาญจนาภิเษกในปัจจุบัน สิ้นสุดโครงการบริเวณห่างจากทางแยกต่างระดับบางบัวทองประมาณ 1 กม. มีจุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ 14 แห่ง รูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก มีขนาด 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ)คำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

เมื่อโครงการM5และM9แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มโครงข่ายมอเตอร์เวย์รวมเป็น 645.09 กม. เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เชื่อมโยงภูมิภาคสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ20ปี (พ.ศ.2560-2579)

By admin