ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์ รายงานว่า กรมทางหลวง(ทล.)ได้รับงบประมาณ 66 ทล. ได้ดำเนินการก่อสร้างทางลอดในพื้นที่ จ.นครราชสีมา จำนวน 2 แห่ง งบประมาณรวม 1,330ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการก่อสร้างทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ตัดทางหลวงหมายเลข 224 (แยกนครราชสีมา) งบประมาณ 480 ล้านบาท และ 2.โครงการก่อสร้างทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 ตัดถนนช้างเผือก ตัดถนนสิริราชธานี(แยกประโดก)งบประมาณ 850 ล้านบาท โดยเริ่มต้นก่อสร้างในปี 66 แล้วเสร็จประมาณปี 68-69 ระยะเวลา 2-3 ปี เมื่อแล้วเสร็จทั้ง 2 โครงการนี้จะเป็นทางลอด 2 แห่งแรกใน จ.นครราชสีมา

ในวันนี้ (19 พ.ค. 66) แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 2 ร่วมกับสำนักก่อสร้างสะพาน จัดประชุมประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างทางลอดแยกนครราชสีมา ที่ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อรับฟังแนวทางการก่อสร้าง พร้อมเสนอแนะหรือแสดงความต้องการ เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่ก่อสร้าง

โครงการตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ จุดเริ่มต้นโครงการ กม.147+371.690-กม.148+552.690 ระยะทาง 1.181กิโลเมตร(กม.)และ อยู่บนทางหลวงหมายเลข 224 จุดเริ่มต้น กม.0+000-กม.0+100(แยกนครราชสีมา)ปัจจุบันได้ตัวผู้รับจ้างแล้ว คือ บริษัท รัชตินทร์ จำกัด อยู่ในขั้นตอนเตรียมลงนามสัญญา เริ่มก่อสร้างในปี 66 แล้วเสร็จปี 68-69 ระยะเวลา 960 วันคำพูดจาก ล่นสล็อต pg

รูปแบบโครงการจะก่อสร้างอุโมงค์คอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 2 ช่องจราจร เดินรถทิศทางเดียว กว้าง 9.10 เมตร ยาว 929 เมตร ความกว้างผิวจราจรช่องละ 3.25 เมตร โดยจะรองรับรถที่เดินทางมาตามถนนมิตรภาพ จาก จ.ขอนแก่น เข้าใช้อุโมงค์ทางแยกนครราชสีมาเลี้ยวขวาทิศทางมุ่งหน้าไป จ.สระบุรี และ กรุงเทพฯ โดยไม่ต้องติดสัญญาณไฟจราจร นอกจากนี้ได้ดำเนินการระบบระบายน้ำ งานป้องกันอัคคีภัย งานก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้าม งานติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง งานป้ายจราจรและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงสายหลักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)ที่มีปริมาณจราจรคับคั่ง และหนาแน่น โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองนครราชสีมา ที่มีทางแยกสำคัญๆ คือ ทางแยกนครราชสีมา จุดตัด ทล.2 ตัดกับ ทล.224 ที่ปัจจุบันเป็นย่านชุมชน มีปริมาณการจราจรหนาแน่น ข้อมูลเมื่อปี 65 พบว่ามีปริมาณจราจรอยู่ที่127,558คันต่อวัน และทางแยกดังกล่าวเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจร ก่อให้เกิดปัญหาแถวคอยบริเวณทางแยก ส่งผลต่อความล่าช้าในการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งอุบัติเหตุบริเวณทางแยก เนื่องจากเป็นเส้นทางสายหลักที่มีการใช้ความเร็วสูงในการสัญจร

ดังนั้น จึงดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตเมือง ลดอุบัติเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวของการจราจรบนทางหลวงสายหลัก ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ลดต้นทุนทางด้านการคมนาคมขนส่ง และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันประเทศยั่งยืน

By admin