นับตั้งแต่เข้าเดือนกันยายน ภายใน 12 วันแรก มีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอุทกภัย ที่เกิดขึ้นแล้วในอย่างน้อย 10 ประเทศและเขตแดน ซึ่งรวมถึงเหตุน้ำท่วมใหญ่ในลิเบีย ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วหลายพันคน จนปลุกกระแสความกังวลเรื่องการปรับตัวต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต คำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
ทั่วโลก ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วต่อเนื่อง เริ่มต้นสัปดาห์แรกของเดือนกันยายนด้วยพายุไต้ฝุ่น 2 ลูก ที่พัดถล่มเอเชียตะวันออกในเวลาไล่เลี่ยกัน
“พายุหมุนเขตร้อน” มีวิธีป้องกัน-รับมือเพื่อลดผลกระทบอย่างไร?
สิงคโปร์เตรียมปิดซ่อมรูปปั้นสิงโตยักษ์ "เมอร์ไลออน" งดถ่ายรูป 3 เดือน
สหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเสพยา "เฟนทานิล" เกินขนาดทั่วประเทศ
ได้แก่ ไต้ฝุ่นเซาลาและไต้ฝุ่นไห่ขุย ที่เล่นงานทั้งเกาะไต้หวัน ฮ่องกง และพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน รวมถึงเมืองเซินเจิ้น
โดยอิทธิพลของไต้ฝุ่นเซาลานั้น ส่งผลให้เกาะฮ่องกงทั้งเกาะ อยู่ในสภาวะชัตดาวน์เป็นเวลา 2 วันเต็ม แต่เกิดความเสียหายค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับอิทธิพลของไต้ฝุ่นไห่ขุย ที่ทำให้เกิดฝนตกหนักสุดในรอบ 140 ปี จนเกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ถนนหลายสายและสถานีรถไฟใต้ดินจมอยู่ใต้น้ำที่สูงถึงระดับเอว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักกับเมืองเศรษฐกิจอย่างฮ่องกง
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า การก่อตัวของไต้ฝุ่น 2 ลูกติดกัน ทำให้มวลอากาศที่มีความชื้นสูง ซึ่งเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ มาจากหลายทิศทางเกิดปะทะกัน จึงทำให้พายุลูกที่ 2 ที่ตามมา มักมีความรุนแรงมากกว่าปกติ แม้ปรากฏการณ์ไต้ฝุ่น 2 ลูกคู่ มักเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งทำให้น้ำในทะเลและมหาสมุทรอุ่นขึ้น ก็มีส่วนช่วยให้พายุที่ก่อตัวมีอานุภาพรุนแรงขึ้นได้
ส่วนปรากฏการณ์ฝนถล่มเกาะฮ่องกงหนักเป็นประวัติการณ์ ทางผู้เชี่ยวชาญมองว่า ในอดีต มักจะเกิดขึ้นห่างกันคราวละหลายสิบปี แต่ระยะหลังเกิดถี่ขึ้น จนอาจกลายเป็นเรื่องปกติในที่สุด
ฝั่งทวีปยุโรป ก็เจอกับอิทธิพลของพายุแดเนียล ซึ่งมีกำลังแรงใกล้เคียงกับเฮอริเคน หรือไต้ฝุ่น ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมตลอดแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบ คือ กรีซ ที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตไฟป่า แต่ต้องมาเจอกับฝนกระหน่ำรุนแรง สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้มากกว่าที่ตกตลอดทั้งปี จนถนนหนทางกลายสภาพเป็นคลอง ชุมชนทั้งชุมชนจมอยู่ใต้บาดาล
นายกรัฐมนตรีของกรีซ แถลงยืนยันยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 15 คน พร้อมระบุว่า พายุแดเนียล คือพายุกำลังแรงที่สุดลูกหนึ่งที่เคยพัดถล่มยุโรป และเป็นร่องรอยของผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลง
ด้านประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของกรีซอย่างบัลแกเรีย ก็เจอกับวิกฤติน้ำท่วมหนักเช่นกัน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 4 คน ส่วนตุรกีก็ได้รับผลกระทบจากพายุลูกนี้เช่นกัน โดยหลายพื้นที่ รวมถึงนครอิสตันบูล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ จมอยู่ใต้น้ำสูงระดับเข่า ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น
อย่างไรก็ตาม พายุแดเนียลไม่ได้สร้างความเสียหายแค่ในยุโรปเท่านั้น แต่ยังสะสมพลังผ่านน่านน้ำที่อุ่นกว่าปกติในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก่อนพัดเข้าถล่มพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลิเบียในทวีปแอฟริกา จนเกิดฝนตกหนัก ส่งผลให้เขื่อนสองแห่งแตกเพราะรองรับปริมาณน้ำไม่ไหว ทำให้มวลน้ำมหาศาลก่อตัวเป็นคลื่นสูงกว่า 7 เมตร ราวกับสึนามิ ทะลักท่วมเมืองเดอร์นา กวาดอาคารและยานพาหนะเสียหายยับเยิน ก่อนไหลลงสู่ทะเล
มหันตภัยน้ำท่วมครั้งนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก โดยมียอดผู้เสียชีวิตและสูญหายหลายพันคน และมีผู้ได้รับผลกระทบอีกหลายแสนคน
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงเช่นนี้ เป็นผลจากโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่แข็งแรง การประกาศเตือนภัยที่ไม่เพียงพอจากทางการ รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
ขณะที่สถานการณ์ในลิเบียก็ยังไม่มั่นคง จากปัญหาสงครามกลางเมือง ซึ่งดำเนินมาเกือบ 10 ปีแล้ว โดยนับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา ลิเบียมีรัฐบาลบริหารประเทศพร้อมกัน 2 ชุด คือ รัฐบาลชุดที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ กับชุดที่เป็นกลุ่มต่อต้าน ซึ่งสามารถเข้ายึดครองพื้นที่ได้บางส่วน รวมถึงเมืองเดอร์นา ที่ประสบภัยน้ำท่วมเอาไว้ได้
จากความแตกแยกทางการเมือง ทำให้ลิเบียไม่ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือน้ำท่วม และยังเป็นอุปสรรคต่อการจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมด้วย
ฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน เช่นในรัฐริโอ กรันดี โด ซูล ของประเทศบราซิล เผชิญฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันครั้งเลวร้ายสุดในรอบ 40 ปี โดยปริมาณน้ำฝนที่ตกภายใน 1 สัปดาห์ เทียบเท่ากับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่ตกตลอดทั้งเดือนกันยายน
ด้านสหรัฐอเมริกา มีเหตุพายุฝนถล่มงานเทศกาลดนตรีและศิลปะ "เบิร์นนิงแมน" จนผู้เข้าร่วมงานหลายหมื่นคนติดหล่มโคลนอยู่กลางทะเลทรายในรัฐเนวาดา และต้องตุนน้ำ อาหาร และของใช้ที่จำเป็น โดยปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ใน 24 ชั่วโมง มากกว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของเดือนกันยายนถึง 2 เท่า
นักวิจัยด้านการท่องเที่ยวมองว่า ต่อไป ปัญหาสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้คนด้วย โดยนักท่องเที่ยวจะเริ่มมองหาจุดหมายปลายทางที่มีสภาพอากาศเย็นขึ้น ท่ามกลางปัญหาคลื่นความร้อนที่ปกคลุมทั้งในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ
จากผลการศึกษาในปี 2007 มีการทำนายไว้ว่า ภายในปี 2050 สภาพอากาศที่ร้อนเกินไปในฤดูร้อน จะทำให้แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อย่างบริเวณริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หมดความน่าสนใจ ขณะที่ประเทศในยุโรปเหนือ อย่างแถบสแกนดิเนเวีย และสหราชอาณาจักร จะกลายเป็นแหล่งพักร้อนตากอากาศแห่งใหม่
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ชายหาดในโลกค่อย ๆ จมหายไป ส่วนแถบเทือกเขาสูง ที่เคยเป็นที่เที่ยวเล่นสกียอดนิยมในหน้าหนาว ก็จะได้รับผลกระทบจากหิมะและน้ำแข็งที่ละลายเร็วขึ้นเช่นกัน
จากสภาวะการณ์ในปัจจุบัน จึงถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุก ๆ ประเทศ ที่ต้องปรับตัว และพิจารณาหามาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือ แต่ความท้าทายคือ ประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นด่านหน้าในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ มักเป็นประเทศที่มีฐานะยากจน หรือมีปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ